[ad_1]
เป็นผู้ได้รับมรดกตกทอดต้องเสียภาษีหรือไม่?
ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 กำหนดให้ผู้รับมรดก ต้องเสียภาษีรับมรดก ไม่ว่ามรดกนั้นจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ เงินฝาก หรือยานพาหนะ
หากคำนวณแล้วมีมูลค่ารวมเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษี!!
เกณฑ์การเสียภาษีรับมรดก
เมื่อผู้ได้รับมรดกได้รับมรดกที่มีมูลค่ารวมเกิน 100,000,000 บาท (หนึ่งร้อยล้านบาท) จะต้องเสียภาษีโดยเริ่มคิดจากส่วนที่มีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป
มรดกประเภทใดที่ต้องเสียภาษี ?
- อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน เป็นต้น
- หลักทรัพย์ เช่น พันธบัตร ตั๋วเงิน เป็นต้น
- เงินฝากธนาคาร
- ยานพาหนะที่จดทะเบียน เช่น รถยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น
เมื่อไหร่ที่ต้องเสียภาษี ?
ให้ผู้เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี ยื่นแบบเสียภาษี ภายใน 150 วัน นับแต่วันที่ได้รับมรดก เกิน 100 ล้านบาท
อัตราภาษีมรดก
อัตราภาษีมรดกที่ต้องเสีย ให้ดูว่าผู้ใดเป็นผู้รับมรดก ดังนี้
– พ่อแม่ / ปู่ ย่า ตา ยาย / บุตร / หลาน อัตรา 5%
– บุคคลทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือด อัตรา 10%
– สามี / ภรรยา (จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย) ได้รับยกเว้นภาษี
หากเป็นผู้ได้รับมรดกที่เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี แต่ไม่ยื่นแบบเสียภาษี จะได้รับโทษตามกฎหมายอย่างไร?
– ปรับไม่เกิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาท) และ
– เสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ของภาษีที่จะต้องจ่าย
หมายเหตุ :
มูลค่ามรดกสุทธิ คำนวนจาก
มูลค่าหลังหักหนี้ – 100 ล้านบาท = มูลค่ามรดกที่จะต้องเสียภาษี และ
มูลค่ามรดกที่จะต้องเสียภาษี x อัตราภาษีคงที่ = ภาษีมรดกที่จะต้องจ่าย
ที่มา : พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
แหล่งที่มา
[ad_2]